การลงทุนสำหรับมนุษย์เงินเดือน
มนุษย์เงินเดือนก็มี Passive Income ได้นะ!
วิธีจัดสรรเงินลงทุน ฉบับมนุษย์เงินเดือน
- เริ่มง่าย ๆ แค่แบ่งมาลงทุน 10% ของเงินเดือน
- ฝึกวินัยการออม ออมก่อนใช้ แล้วแบ่งมาลงทุนสม่ำเสมอ
- ลงทุนหลาย ๆ อย่าง เพื่อกระจายความเสี่ยง
- ศึกษาข้อมูลและความเสี่ยงทุกครั้งก่อนลงทุน
ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
- แบบ Value Investor : เลือกหุ้นที่ผลประกอบการดี แนวโน้มมีอนาคต มีนโยบายจ่ายเงินปันผล เพื่อรับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลระยะยาว
- แบบ Day Trade : ถือหุ้นแค่ระยะสั้น เน้นขายไว ทำกำไรวันต่อวัน ได้ผลตอบแทนเป็นส่วนต่างราคา
- ข้อดี : เริ่มง่าย ไม่ต้องใช้เงินเยอะ
- ข้อเสีย : ความเสี่ยงสูง ต้องมีทักษะการวิเคราะห์หุ้น
อสังหาริมทรัพย์
- ซื้อเพื่อขายต่อ ทำกำไรในระยะสั้น
- ซื้อเพื่อปล่อยเช่า สร้าง Passive Income ระยะยาว
- ข้อดี : ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ ส่งต่อเป็นมรดกให้ลูกหลานใช้ได้
- ข้อเสีย : ต้องใช้เงินมากในการเริ่มต้น
กองทุนรวม
- กองทุนรวมตลาดเงิน
- กองทุนรวมตราสารหนี้
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
- ข้อดี : มักได้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก กองทุนรวมบางประเภทลดหย่อนภาษีได้ เช่น SSF, RMF
- ข้อเสีย : ความเสี่ยงสูง ขึ้นอยู่กับแต่ละกองทุน
เงินฝาก
- เงินฝากระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) : เน้นสภาพคล่อง ถอนง่าย ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
- เงินฝากประจำระยะกลาง (1-3 ปี) : ออมเพื่อความฝัน เรียนต่อ ท่องเที่ยว แต่งงาน
- เงินฝากประจำระยะยาว (3 ปีขึ้นไป) : ลงหลักปักฐาน ซื้อบ้าน เตรียมเกษียณ
- ข้อดี : เริ่มต้นง่าย ทำได้ทุกคน ความเสี่ยงต่ำ
- ข้อเสีย : ผลตอบแทนต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนแบบอื่น
สลากออมสิน
- สลากออมสินพิเศษดิจิทัล 1 ปี
- สลากออมสินพิเศษดิจิทัล 2 ปี
- สลากออมสินพิเศษดิจิทัล 3 ปี
- สลากออมสินพิเศษ 2 ปี
- สลากออมสินพิเศษ 3 ปี
- สลากออมสินพิเศษ 5 ปี
- ข้อดี : เริ่มต้นง่าย ความเสี่ยงต่ำเหมือนเงินฝาก แต่มีโอกาสได้ลุ้นเงินรางวัลเพิ่มทุกเดือน
- ข้อเสีย : สภาพคล่องต่ำกว่าเงินฝากออมทรัพย์ ต้องถือให้ครบอายุเพื่อประโยชน์สูงสุด
กู๊ดมันนี่ เงินดีดีเพื่อคนไทย
สามารถติดตามความรู้คู่การเงินและข่าวสารจากกู๊ดมันนี่ในช่องทางต่างๆได้ที่:
Facebook: https://www.facebook.com/goodmoneybygsb/
Instagram: https://www.instagram.com/goodmoneybygsb/
Line ID: @goodmoneybygsb
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
“สินเชื่อส่วนบุคคล อัตราดอกเบี้ย 19%- 25% ต่อปี
สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ย 29%-33% ต่อปี”
แก้ไขล่าสุดวันที่
15/10/2024
ขอบคุณข้อมูลจาก:
เว็บไซต์ออมตังค์ https://oomtang.gsb.or.th/kms/kms_view/71
แชร์บทความนี้