เข้าใจความแตกต่าง, ข้อดี-ข้อเสีย, และวิธีเลือกที่เหมาะกับวัยของคุณ เพื่อการเงินที่มั่นคงและเติบโต
แยกให้ออก! ความต่างระหว่าง “การออม VS. การลงทุน”
การออม
- จุดประสงค์คือ “เก็บเงินไว้ใช้ในอนาคต”
- ให้ความสำคัญกับ “ความปลอดภัยของเงินต้น” มากกว่าผลตอบแทน
- ความเสี่ยงต่ำมาก จนถึงไม่มีความเสี่ยงเลย
- ตัวอย่าง : เงินฝากออมทรัพย์, เงินฝากประจำ, สลากออมสิน
ข้อดี :
- สภาพคล่องสูง สามารถถอนมาเป็นเงินสดได้ไม่ยาก เหมาะไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
- ง่าย เหมาะกับทุกคน ทุกเพศทุกวัย ใครก็ออมได้
- เครียดน้อยกว่า ไม่ต้องเฝ้าระวังสภาวะตลาด
ข้อเสีย :
- ผลตอบแทนต่ำถ้าเทียบกับการลงทุน รอนานกว่าเงินจะเพิ่ม
- ผลตอบแทนตามที่สถาบันการเงินกำหนดเท่านั้น
- เสียโอกาสในการทำกำไรที่สูงขึ้น ในกรณีที่คน ๆ นั้นสามารถรับความเสี่ยงได้
“ออม” ยังไงให้เหมาะกับเรา
- วัยเด็ก : หยอดกระปุกออมสิน, เงินฝากออมทรัพย์
- วัยทำงาน : เงินฝากออมทรัพย์, เงินฝากประจำ, สลากออมสิน, ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- วัยเกษียณ : สลากออมสิน, เงินฝากประจำ, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
การลงทุน
- จุดประสงค์คือ “ทำให้เงินเพิ่ม”
- ให้ความสำคัญกับ “ผลตอบแทน” มากที่สุด โดยแลกกับความเสี่ยง
- มีตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนถึงสูงมาก ยิ่งเสี่ยงยิ่งผลตอบแทนสูง
- ตัวอย่าง : หุ้น, กองทุนรวม, ตราสารหนี้, ลงทุนทำธุรกิจ, อสังหาริมทรัพย์
ข้อดี :
- มีโอกาสได้กำไรสูง ๆ ถ้าลงทุนถูกที่ ถูกจังหวะ ก็เป็นเศรษฐีได้ไวขึ้น
- การลงทุนบางประเภทให้อำนาจในการจัดการสินทรัพย์ เช่น ธุรกิจส่วนตัว อสังหาฯ
- บางอย่างหักลดหย่อนภาษีได้ เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
ข้อเสีย :
- ถ้าคาดการณ์ผิด ผลตอบแทนอาจต่ำกว่าการออม หรืออาจจะขาดทุน
- ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ต้องมีความรู้ในสินทรัพย์นั้นมากพอก่อนตัดสินใจ
- มักมีสภาพคล่องต่ำกว่าการออม เปลี่ยนกลับมาเป็นเงินได้ยาก
“ลงทุน” ยังไงให้เหมาะกับเรา
- รับความเสี่ยงได้น้อย : หุ้นกู้, กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนรวมความเสี่ยงต่ำ
- รับความเสี่ยงได้กลาง ๆ : หุ้น, กองทุนรวมความเสี่ยงสูง
- รับความเสี่ยงได้มาก : ทำธุรกิจส่วนตัว, อสังหาริมทรัพย์
กู๊ดมันนี่ เงินดีดีเพื่อคนไทย
สามารถติดตามความรู้คู่การเงินและข่าวสารจากกู๊ดมันนี่ในช่องทางต่างๆได้ที่:
Facebook: https://www.facebook.com/goodmoneybygsb/
Instagram: https://www.instagram.com/goodmoneybygsb/
Line ID: @goodmoneybygsb
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
“สินเชื่อส่วนบุคคล อัตราดอกเบี้ย 19%- 25% ต่อปี
สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ย 29%-33% ต่อปี”
แก้ไขล่าสุดวันที่
15/10/2024
ขอบคุณข้อมูลจาก:
เว็บไซต์ออมตังค์ https://oomtang.gsb.or.th/kms/kms_view/44
แชร์บทความนี้