8 วิธีปรับโครงสร้างหนี้ที่คนที่มีหนี้ต้องรู้
การปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่เป็นหนี้สามารถดำเนินชีวิตหรือธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องหลังสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ได้สนับสนุนให้ลูกหนี้และสถาบันการเงินร่วมมือกันในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้และหาทางออกร่วมกัน ลดโอกาสที่ลูกหนี้ดีจะกลายเป็นลูกหนี้เสีย
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
ควรปรับโครงสร้างหนี้เมื่อไหร่
2. หากเป็นหนี้เสียแล้ว ก็สามารถติดต่อสถาบันการเงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสมและผ่อนไหวได้
3. เตรียมตัวก่อนเข้าไปเจรจา คิดไว้คร่าว ๆ ว่าแนวทางปรับโครงสร้างหนี้แบบไหนที่เหมาะกับเรา
8 วิธีปรับโครงสร้างหนี้ เลือกแบบไหนดี
1. ยืดหนี้
เริ่มผ่อนไม่ไหวจะขอขยายให้ยาวออกไป เพื่อทำให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนปรับลดลง
2. พักชำระเงิน
เดือนละ 20,000 บาท ประกอบด้วยเงินต้น 8,000 บาท และดอกเบี้ย 12,000 บาท การพักชำระเงินต้นจะทำให้ค่างวดเหลือเพียง 12,000 บาท
ซึ่งจะทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายมีจำนวนลดลง และหนี้หมดเร็วขึ้น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ธปท. ก็ได้รณรงค์ปรับปรุงเรื่องการชำระหนี้ก่อนครบกำหนด (prepayment)
ให้มีการปฏิบัติที่เป็นธรรมมากขึ้นด้วย
3. ลดอัตรดอกเบี้ย
ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจทำให้ผ่อนชำระที่อัตราดอกเบี้ยเดิมไม่ไหว สามารถยื่นเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ต่ำลง
4. ยกหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชําระหนี้
เมื่อต้นปี 2563 ธปท. ได้ประกาศให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระจริงเท่านั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และให้ความสำคัญ
กับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้ว
สถาบันการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยปรับได้ แต่ต้องไม่เป็นภาระแก่ลูกหนี้จนเกินสมควร หรือเป็นเหตุที่ทำให้ภาระหนี้สูงขึ้นมากจนชำระไม่ได้ กลายเป็นหนี้เสียในเวลาต่อมา
ตัวอย่างการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และสินเชื่อบุคคล ที่มีลักษณะการผ่อนชำระเป็นงวด ให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระบนฐานเงินต้น
ของค่างวดที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระ (ทุกงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระ)
ลูกหนี้กู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 5 ล้านบาท ดอกเบี้ย 8% ต่อปี ผ่อนชำระ 20 ปี โดยมีค่างวดงวดละ 42,000 บาท และกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระจะคิดดอกเบี้ยสูงสุด 15% ต่อปี
เมื่อลูกหนี้ชำระค่างวดไปแล้ว 24 งวด ลูกหนี้ได้ผิดนัดชำระงวดที่ 25 ซึ่งค่างวดงวดที่ 25 ประกอบด้วย เงินต้น 10,000 บาท และดอกเบี้ย 32,000 บาท
ให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้โดยคำนวณบนค่างวดส่วนที่เป็นเงินต้นจำนวน 10,000 บาท
5. เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน
ในภาวะที่เหตุการณ์ในอนาคตมีความไม่แน่นอนสูง เงินทุนหมุนเวียน (working capital: WC) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหล่อเลี้ยงธุรกิจในยามที่ลำบาก
ให้มีโอกาสฟื้นกลับอย่างรวดเร็วได้ในภายหลัง ธปท. จึงสนับสนุนให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อ WC ใหม่แก่กิจการที่มีศักยภาพ โดยแยกการจัดชั้นสินเชื่อ WC นี้ออกจากสินเชื่ออื่น
ซึ่งอาจจะเป็น NPL ไปแล้ว ช่วยให้กิจการยังมีบัญชีสินเชื่อสถานะปกติไว้ใช้งานได้
ผู้กู้ควรเตรียมเหตุผลและประมาณการรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในระยะ 6–12 เดือนข้างหน้า อาทิ ค่าจ้างพนักงาน ค่าซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการดำเนินงาน
เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าเช่าสำนักงาน เป็นต้น เพื่อให้สถาบันการเงินใช้ประกอบการพิจารณาวงเงิน
สถาบันการเงินจะพิจารณาจากประวัติการผ่อนชำระ เช่น 1 ปีที่ผ่านมาลูกหนี้ชำระหนี้ทั้งในส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นจำนวนเท่าใด วงเงิน WC ที่ขอเพิ่มเติมคิดเป็นสัดส่วนเท่าใด
ของภาระหนี้รวม เป็นต้น
6. เปลี่ยนประเภทหนี้
หนี้ที่อัตราดอกเบี้ยแพงควรถูกเปลี่ยนประเภทเป็นหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยถูกลง เช่น ลูกหนี้ SMEs ใช้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยสูง 18% และ 28%
หรือลูกหนี้มีวงเงิน O/D ใช้วงเงินเต็ม
สถาบันการเงินอาจพิจารณาเปลี่ยนจากสินเชื่อหมุนเวียนที่อัตราดอกเบี้ยแพงเหล่านี้ ไปเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระ (term loan) ที่ดอกเบี้ยถูกลง
สินเชื่อ OD คืออะไร
สินเชื่อ OD คืออะไร ทำไมคนทำธุรกิจควรรู้จัก
7. ปิดจบด้วยเงินก้อน
หากพอมีความสามารถหาเงินก้อนได้จำนวนหนึ่ง เช่น จากเงินออม จากการยืมญาติมิตร หรือจากการขายทรัพย์สิน ถึงแม้จะไม่มากเท่ายอดหนี้ที่มีอยู่
แต่ก็สามารถเจรจาขอส่วนลดให้เพียงพอต่อการปิดหนี้จบทั้งบัญชีได้ ซึ่งจะทำให้หมดภาระค่างวดรายเดือนไปอีกหนึ่งก้อน
สถาบันการเงินอาจกำหนดให้ชำระเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาสั้น ๆ 6 เดือน หรือเพียง 1-2 งวด อย่างไรก็ดี การเจรจาขอปิดจบโดยมีส่วนลดจะทำได้ค่อนข้างยาก
ในกรณีที่มีหลักประกันมูลค่าสูงกว่ายอดหนี้
8. รีไฟแนนซ์ (refinance)
คือการปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง โดยนำหนี้ใหม่ไปชำระหนี้เดิมที่คงค้างอยู่ก่อน ในประเทศไทยอาจคุ้นเคย
กับการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านและสินเชื่อธุรกิจที่มีหลักประกันอยู่ระดับหนึ่งแล้ว
อัปเดตดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน
อัปเดตอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านจากหลายธนาคาร
อย่างไรก็ดี ธปท. ได้เริ่มสนับสนุนให้เกิดตลาดรีไฟแนนซ์สำหรับหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล (หนี้บัตร) โดยเมื่อต้นปี 2563 มีสถาบันการเงินเปิดตัวเข้ามานำเสนอ
ผลิตภัณฑ์รีไฟแนนซ์หนี้บัตรเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ซึ่งรับรีไฟแนนซ์หนี้บัตรสำหรับลูกหนี้ที่มีวินัยทางการเงินและประวัติการชำระดี
แนวทางการชําระหนี้เพื่อลดหนี้เสียและลดภาระหนี้ของประชาชน
ธปท. ได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดภาระหนี้ สร้างความเป็นธรรมในการให้บริการทางการเงิน
แก่ประชาชน และลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพในระบบการเงิน ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติที่สำคัญในระบบการเงินของไทยใน 3 เรื่อง คือ
1. คิดดอกเบี้ยผิดนัดชําาระหนี้บนฐานของ “เงินต้นที่ผิดนัดจริง” เท่านั้น
การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของ “เงินต้นที่ผิดนัดจริง” เท่านั้น ไม่ให้รวมส่วนของเงินต้นของค่างวดในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ต่างจากแนวปฏิบัติเดิมที่หากผิดนัดชำระหนี้
เพียงงวดเดียว ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมด ส่งผลให้มูลค่าดอกเบี้ยผิดนัดสูงมาก ซึ่งเกณฑ์ใหม่นี้จะทำให้การคิดดอกเบี้ย
ผิดนัดชำระหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และเกิดความเป็นธรรมกับประชาชนมากขึ้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564
ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
กู้ซื้อบ้าน 5 ล้านบาท ผ่อน 20 ปี (240 งวด) จ่ายชำระปกติมา 2 ปี (24 งวด) งวดที่ 25 ที่ต้องจ่าย 42,000 บาท (เงินต้น 10,000 บาท และดอกเบี้ย 32,000 บาท) เกิดติดขัดผ่อนไม่ไหว
เดิม แม้ผิดนัดชำระหนี้เพียงงวดเดียว การคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะคิดจาก “ฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด”
กู้ซื้อบ้าน 5 ล้านบาท ผ่อน 20 ปี งวดละ 42,000 บาท
หากผิดนัดชำระหนี้ในงวดที่ 25 ตั้งแต่งวดที่ 25-240 ยอดหนี้คงเหลือรวม 4.77 ล้านบาท
คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐาน 4.77 ล้านบาท
ใหม่ การคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะคิดจาก “ฐานเงินต้นของงวดที่ผิดนัดชำระหนี้จริงเท่านั้น” ไม่รวมงวดในอนาครที่ยังมาไม่ถึง
กู้ซื้อบ้าน 5 ล้านบาท ผ่อน 20 ปี งวดละ 42,000 บาท (แบ่งเป็น เงินต้น จำนวน 10,000 บาท ดอกเบี้ยในงวดที่ 25 จำนวน 32,000 บาท)
หากผิดนัดชำระหนี้ในงวดที่ 25 คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐาน 10,000 บาท
2. อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกิน 3%
การกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่ “อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกิน 3%” เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาคือ 8% ผู้ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย
ผิดนัดชำระหนี้ได้ไม่เกิน 11% โดยต้องคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาด้วย
ต่างจากเดิมที่ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เอง เช่น กำหนดตามอัตราดอกเบี้ยสูดสุดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ 15%
หรือบางกรณีสูงถึง 18% หรือ 22% ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ (affordability risk) ได้
ถ้าเปรียบเทียบแนวปฏิบัติที่ผ่านมากับแนวใหม่ที่ได้ปรับปรุงเรื่องฐานและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะเห็นว่า ดอกเบี้ยผิดนัดส่วนเพิ่มแบบเดิมสูงถึง 27,443.84 บาท
ในขณะที่แบบใหม่ลดลงเหลือเพียงแค่ 8.22 บาท ดูเผิด ๆ อาจน้อย แต่ถ้าดูในรายละเอียดจะเห็นว่าลูกหนี้ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยตามสัญญาอีก 32,000 บาท รวมเป็น 32,008.22 บาท
ในขณะที่แบบเดิมมีจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสูงถึง 59,443.84 บาท
ดังนั้น การปรับเกณฑ์ในครั้งนี้ จะช่วยให้ลูกหนี้พยายามจ่ายชำระหนี้ ลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ และยังช่วยให้ระบบการเงินมีความสมดุลมากขึ้น
การฟ้องร้องดำเนินคดีจะลดลง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564
3. ตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรก
การกำหนดลำดับการตัดชำระหนี้โดยให้ “ตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรก” เพื่อให้ลูกหนี้ทราบลำดับการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจน โดยเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้
เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปจ่ายค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน
ต่างจากแนวทางเดิมที่เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมด ตามด้วยดอกเบี้ยทั้งหมด ก่อนนำเงินส่วนที่เหลือมาตัดเงินต้น
ซึ่งการปรับเกณฑ์ใหม่นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้น ช่วยลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพหรือ NPL
รวมทั้งช่วยให้ลูกหนี้มีกำลังใจในการจ่ายชำระหนี้ต่อเนื่อง และยังช่วยให้ประวัติการผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากขึ้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564
ตัวอย่างลำดับการตัดชำระหนี้แบบแนวนอน โดยตัดงวดที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน
ถ้าลูกหนี้มีค่างวดที่ต้องจ่ายเดือนละ 10,300 บาท แบ่งเป็นค่าธรรมเนียม 300 บาท ดอกเบี้ย 4,000 บาท และเงินต้น 6,000 บาท ลูกหนี้ค้างชำระ 3 เดือน รวม 30,900 บาท
เดือนที่ 4 เริ่มพอที่จะหาเงินได้กลับมาจ่าย 10,300 บาท
เดิม ตัดชำระหนี้แบบแนวตั้ง จะตัดค่าธรรมเนียม 900 บาทก่อน ส่วนที่เหลืออีก 9,400 บาท นำไปตัดดอกเบี้ยค้าง ซึ่งสามารถตัดชำระได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
เพราะดอกเบี้ยค้าง 3 งวดรวม 12,000 บาท ทำให้งวดที่ 4 แม้ลูกหนี้จ่ายชำระหนี้เข้ามา 10,300 บาท เงินที่จ่ายเข้ามาจะไม่สามารถตัดถึงส่วนเงินต้นได้เลย
ใหม่ ตัดชำระหนี้แบบแนวนอน เงิน 10,300 บาท จะถูกนำไปตัดค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นของงวดที่ 1 ก่อนจนครบ และจะทำให้มียอดค้างเหลือเพียง 2 งวด
เกณฑ์การตัดชำระหนี้ข้างต้นมีผลกับทุกสถาบันการเงิน เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หากพบความไม่เป็นธรรมในการตัดชำระหนี้
สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือโทร. 1213
ธ.ออมสิน ให้กู้เงินแก้หนี้นอกระบบ ดอกเบี้ยคงที่ 1% ต่อเดือน
ธนาคารออมสินเปิดโครงการธนาคารเพื่อประชาชนเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ ให้กู้เงิน 50,000 บาท พร้อมข้อเสนอพิเศษ ดอกเบี้ยคงที่ 1% ต่อเดือน โดยมีรายละเอียดดังนี้
จุดประสงค์การกู้ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เกิดจากการประกอบอาชีพ หรือการอุปโภค บริโภค แต่ต้องไม่เป็นการนำไปชำระ (Re-Finance) หนี้ในระบบ
วงเงินกู้ ให้กู้ตามมูลหนี้นอกระบบจริง และตามความสามารถในการชำระหนี้ ไม่เกินรายละ 50,000 บาท
อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) 1% ต่อเดือน
ค่าธรรมเนียม 100 บาทต่อสัญญา
ระยะเวลาการชำระ ชำระคืนในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
คุณสมบัติ
- เป็นผู้ที่มีการประกอบอาชีพ มีรายได้
- สัญชาติไทย มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เมื่อรวมอายุของผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 65 ปี
- มีถิ่นที่อยู่แน่นอน มีสถานที่ประกอบอาชีพ สามารถติดต่อได้
- เป็นผู้ลงทะเบียนหนี้นอกระบบ (นร.1) สามารถลงทะเบียนได้ในวันที่ขอกู้จากธนาคาร
เอกสารประกอบการขอกู้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้ และผู้ค้ำประกัน
- เอกสารแสดงรายได้ในการประกอบอาชีพ สมุดบัญชีเงินฝาก สลิปเงินเดือน (ถ้ามี)
- เอกสารรายรับ/รายจ่าย (ถ้ามี)
- รูปถ่ายสถานที่ประกอบอาชีพ
- กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน นำสำเนาหลักทรัพย์ที่จะค้ำประกันไปด้วย
ติดต่อและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ธนาคารออมสิน
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ
แชร์บทความนี้
บทความอื่นๆ
อยากมีเครดิตดีต้องรู้จักการไกล่เกลี่ยและเร่งเคลียร์หนี้เสีย (NPL) ให้ถูกต้อง
ปรับปรุงเครดิตและเคลียร์หนี้เสียอย่างชาญฉลาด! เรียนรู้วิธีไกล่เกลี่ยหนี้และเพิ่มโอกาสขอสินเชื่อใหม่อย่างราบรื่น
หนี้ท่วม เบาลงได้ ด้วยการ “รีไฟแนนซ์”
เคล็ดลับแก้ปัญหาประวัติเครดิตบูโร: พยายามเคลียร์หนี้ รักษาวินัยการเงิน และสร้างเครดิตดีภายใน 3 ปี พร้อมวิธีสร้างเงินสำรองฉุกเฉิน